ประวัติหนังสือพิมพ์

ประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคอาณาจักรโรมัน จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ ได้สั่งให้คัดลอกแถลงการณ์ของพระองค์ รวมถึงข่าวประจำวันของราชการ ไปปิดไว้ตามกำแพงในที่ชุมชนเพื่อประชาชนได้อ่าน ใบประกาศนั้นเรียก "แอ็กตา ดิอูนา" (Acta diuna) ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์


จากแผ่นประกาศข่าว วิวัฒนาการเป็นจดหมายข่าว และหนังสือข่าว รายงานข่าวสารทางการค้า การเมือง แล้วพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ขึ้น และวิลเลียมส์ แซกส์ตัน นำเครื่องพิมพ์ไปใช้ในประเทศอังกฤษ

พ.ศ.2165 อังกฤษรวบรวมข่าวรายวันมาพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ในชื่อ A Weekly News London ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก โดยเสนอข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป

ผู้ริเริ่มออกหนังสือพิมพ์รายวันคนแรกของโลกคือ เอ็ดวาร์ด มอลเลต หนังสือชื่อ The Daily Courant ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2245 เสนอบทความ บทวิจารณ์สังคม คอลัมนิสต์ชื่อดังคือ    ดาเนียล เดอโฟ

วิวัฒนาการหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกลุ่มมิชชันนารีชาวอเมริกันเป็นเจ้าของและบรรณาธิการ หมอบรัดเลย์  ได้ออก หนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์ฉบับแรกในประเทศไทย ชื่อ หนังสือจดหมายเหตุ (บางกอกรีคอเดอ - อังกฤษ: The Bangkok Recorder) พิมพ์ด้วยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่มีอายุได้ไม่ถึง 2 ปี ก็ต้องปิดกิจการลง

ต่อมา รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้จัดทำ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ ราชกิจจานุเบกษา เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อน ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ที่เผยแพร่สู่ประชาชน ชื่อ ดรุโณวาท และมีหนังสือพิมพ์ที่ยอดจำหน่ายสูงมาก จนกระทั่งต้องมีระบบจัดส่งหนังสือ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการไปรษณีย์ไทย คือ ข่าวราชการ (อังกฤษ: Court - ค็อต) ในยุคนี้ วงการหนังสือพิมพ์ตื่นตัวมาก โดยมีการออกหนังสือพิมพ์ถึง 59 ฉบับ

สมัยรัชกาลที่ 6 กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 7 มีหนังสือพิมพ์ 55 ฉบับ โดยฉบับที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือที่สุดคือ ประชาชาติรายวัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อ่านอย่างสูง โดยเฉพาะปัญญาชนที่ตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

สมัยรัชกาลที่ 8 ต่อเนื่องถึงรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ. 2501 เกิดรัฐประหาร นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศคณะปฏิวัติ โดยยุคนี้มีหนังสือพิมพ์ 31 ฉบับ เช่น
  • สยามนิกร       (2481-2512)
  • ไทยรัฐ           (2492-ปัจจุบัน)
  • สารเสรี          (2497-2508)
  • เดลิเมล์          (2493-2501)
  • สยามรัฐ         (2493-ปัจจุบัน)
  • เกียรติศักดิ์      (2495-2513)
  • แนวหน้า         (2495-ปัจจุบัน)
  • อาณาจักรไทย (2501-2504) 
  • เสียงอ่างทอง  (2500-2507)
  • เดลินิวส์         (2507-ปัจจุบัน)
ที่มา : wikipedia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น